รวมปัญหาที่เกิดจาก Printer
งานพิมพ์มีรอยขีดเล็กๆ เป็นระยะๆ
หาก คุณสั่งพิมพ์เอกสารออกมาแล้วพบว่ามีรอยขีดเส้นเล็กๆ อยู่ที่ขอบกระดาษด้านใดด้านหนึ่งเป็นระยะๆ ละก็ ให้สันนิษฐานก่อนว่าสาเหตุมาจาก Roller หลักที่อยู่บนเส้นทางเดินกระดาษมีคราบสกปรก ถ้าตรวจแล้วไม่พบให้ลองตรวจสอบที่ตลับโทนเนอร์ว่ามีการชำรุดหรือไม่? บ่อยครั้งที่พื้นผิวของดรัมในโทนเนอร์มีรอยเล็กๆ ทำให้เวลาพิมพ์เอกสารร่องรอยตำหนินั้นจึงติดลงบนกระดาษด้วย อย่าลืมตรวจสอบชนิดของกระดาษที่คุณใช้ด้วยเช่นกัน
ตัวหนังสือที่หายไปบนผืนกระดาษ
ปัญหา นี้พบได้บ่อยๆ ครับ งานพิมพ์ที่มีตัวหนังสือหายไปเป็นช่วงๆ หรือฟอนต์ช่วงล่างขาดหายไปเป็นระยะๆ ข้อสันนิษฐานแรกให้มุ่งเป้าไปที่ผงหมึกในตลับอาจกำลังจะหมด หน้าสัมผัสของชุดลำเรียงกระดาษอาจมีคราบสกปรก รวมทั้งตลับโทนเนอร์เองอาจมีเศษผงหมึกเป็นคราบเลอะอยู่ อย่าลืมเช็กดูที่ Printer Properties ว่าคุณไม่ได้อยู่ในโหมดการพิมพ์แบบ Eco Mode ด้วย
สั่งพิมพ์ได้แต่ดันกลายเป็นเส้นๆ
เคย เห็นงานพิมพ์ที่มีแต่เส้นยาวๆ เป็นระยะๆ บนหน้ากระดาษบ้างไหมครับ ถ้าเคยละก็ ตลับหมึกของคุณใกล้หมดแล้ว นอกจากนี้สาเหตุอาจมาจากองค์ประกอบทางฮาร์ดแวร์ด้วย เช่น พื้นผิวของดรัมชำรุดหรือมีสิ่งสกปรก ชุด Fuser Film มีคราบหรือมีอะไรไปติดอยู่ รวมไปถึงมีสิ่งบดบังกระจกสะท้อนแสงในชุด Scanner ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องการทำความสะอาดโดยด่วนครับ
มีจุดไข่ปลาที่ขอบกระดาษด้านบนและล่าง
งาน พิมพ์โอเค ตัวหนังสือไม่หลุด กระดาษไม่เลอะเศษหมึก แต่บริเวณด้านบนและด้านล่างดันมีจุดไข่ปลาเกิดขึ้นซะนี่ สาเหตุของปัญหาที่ว่านี้มาจากองค์ประกอบของฮาร์ดแวร์เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นตัว Transfer Roller ขัดข้องหรือชำรุด แผงวงจร Formatter PCA เกิดความบกพร่อง ซึ่งอาจรวมไปถึงแผงควบคุมการจ่ายไฟ DC มีปัญหาเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน ตรงนี้คงต้องส่งศูนย์ซ่อมอย่างเดียวแล้วละครับ
มีเส้นทับตัวหนังสือตลอดทั้งแนว
ปัญหา นี้เชื่อว่าหลายคนคงเคยเจอมารบ้าง นั่นคืองานพิมพ์มีเส้นยาวๆ ทับตัวหนังสือตลอดทั้งแนว และบางทีก็ทับตัวหนังสือทุกบรรทัดด้วย สาเหตุให้มุ่งเป้าไปที่ความสกปรกเป็นหลักครับ ตรวจสอบ Roller หลักที่เป็นตัวป้อนกระดาษและตัวที่อยู่ในเส้นทางเดินกระดาษว่ามีคราบสกปรก อยู่หรือไม่? หรือมีรอยขีดข่วนบนพื้นผิวด้วยหรือไม่ และอย่าลืมสำรวจตลับโทนเนอร์ด้วยว่าถูกติดตั้งอย่างถูกต้องหรือลงล็อกดีแล้ว หรือยัง?
งานพิมพ์สีซีดจางผิดปกติ
ถ้า บังเอิญคุณสั่งพิมพ์เอกสารออกมาแล้วเห็นว่าสีซีดจากผิดปกติละก็ อันดับแรกตรวจสอบดูว่าคุณตั้งค่าการพิมพ์ในโหมดประหยัดหรือไม่ บางทีอาจมีใครไปปรับเล่น อย่างที่สองตลับหมึกใกล้หมดแล้วหรือยัง ตรงนี้อาจจะเป็นสาเหตุหลักก็ได้ครับ และอย่างที่สามตรวจสอบดรัมว่ามีอะไรไปติดขัดหรือไม่ เพราะถ้าระบบไม่ดูดผงหมึกออกจากดรัมหรือดูดอกไม่ได้ ก็ทำให้งานพิมพ์ออกมามีสีซีดจางแน่ๆ
งานพิมพ์ออกมาเบลอสีผิดเพี้ยน
อาการ แบบนี้มีหลายสาเหตุเช่นกัน ถ้าวิเคราะห์ง่ายๆ ก็ตั้งแต่กระดาษผิดประเภท หรือมีความชื้นที่กระดาษมากเกินไป ชุดฟีดกระดาษออกหลังพิมพ์กินเนื้อหมึกเข้าไปในลูกกลิ้ง ตรงนี้อุปกรณ์อาจจะเสื่อมสภาพก็ได้ครับ ส่วนที่ลึกกว่านี้ก็มีชุดควบคุมเลเซอร์ขัดข้อง รวมทั้งตัวขับเคลื่อนหรือมอเตอร์และฟันเฟืองต่างๆ ทำงานสะดุด ซึ่งจะส่งผลให้กระดาษที่กำลังฟีดเข้าไปอาจอยู่ผิดตำแหน่งหรือเลื่อนออกจาก ตัวป้อนกระดาษได้เช่นกัน
งานพิมพ์ขาวสะอาดแต่ด้านหลังกระดาษสกปรก
อย่า เพิ่งรีบร้อนเอางานพิมพ์สำคัญของคุณส่งให้หัวหน้าหรือลูกค้าดู ถ้าคุณยังไม่ได้พลิกกระดาษกลับไปดูดด้านหลังเพราะมันอาจเปรอะเปื้อนไปด้วย เศษผงหมึกก็เป็นได้ ปัญหาแบบนี้มักไม่ค่อยมีใครสังเกตเห็นกันครับ ให้คุณทำความสะอาดตั้งแต่ถาดรองกระดาษ ตัวฟีดกระดาษเข้าออก หรือตามลูกกลิ้งต่างๆ ที่อาจมีผงหมึกติดเป็นคราบฝังตัวอยู่
งานพิมพ์มีสีเข้มเกินกว่าเหตุ
พอ เจอปัญหาหมึกจางไปแล้ว คราวนี้ก็มาลองเจอกับงานพิมพ์ที่มีเส้นเข้มเกินไปดูบ้างครับ สาเหตุหลักๆ ของปัญหานี้มาจาก ส่วนที่สัมผัสกับกระดาษเกินไป ต้องเช็กดูที่ดรัมว่ามีอะไรขัดข้องอยู่หรือไม่ รวมทั้งองค์ประกอบสำคัญอย่างแผงควบคุม Laser Scanner ที่อาจมีปัญหาในระหว่างสั่งพิมพ์ ซึ่งถ้ามีการอ่านค่าผิดเพี้ยนก็อาจมีปริมาณผงหมึกที่มากเกินความจำเป็นถูก ส่งออกไปยังแผ่นกระดาษ
ตัวหนังสือบิดๆ เบี้ยวๆ
งาน พิมพ์ที่มีตัวหนังสือบิดๆ เบี้ยวๆ หรือแม้แต่กระดาษม้วนงอตอนเครื่องฟีดกระดาษออกมา ให้ตรวจสอบดูว่าคุณป้อนกระดาษถูกชนิดที่เครื่องพิมพ์รองรับหรือไม่? โดยเฉพาะห้ามนำกระดาษโฟโต้ หรือกระดาษมันวาวต่างๆ ที่ใช้กับเครื่องอิงค์เจ็ตมาใส่โดยเด็ดขาด นอกจากนี้ถ้าอากาศรอบหรือในห้องที่วางเครื่องพิมพ์มีความชื้นหรือร้อนจนเกิน ไป ก็อาจส่งผลให้ระบบพิมพ์ต่างๆ ทำงานผิดเพี้ยนได้เช่นกัน ให้ลองไล่เช็กทีละจุดดูนะครับ
ภาพบนหน้ากระดาษเป็นรอยเหลื่อมกัน
ปัญหา นี้นอกจากภาพก็อาจรวมไปถึงตัวหนังสือที่ปรากฏอยู่บนงานพิมพ์ด้วยนะครับ อย่างแรกเลยก็คือ หากตอนวางกระดาษมีการบีบอัดหรือเฉียงไม่ตรงช่อง ตอนที่ระบบฟีดกระดาษเข้ามาพิมพ์นั้น แน่นอนว่ากระดาษย่อมอยู่ในตำแหน่งที่เหลื่อมหรือไม่ตรงร่องด้วย ทำให้ภาพหรือตัวหนังสือเหลื่อมทับกันหรือเส้นต่างๆ ที่ปรากฏก็จะไม่ตรงด้วย โดยเฉพาะตารางจะเห็นได้อย่างชัดเจน ดังนั้น เวลาป้อนกระดาษเข้าให้ตรวจสอบด้วย
ช่องว่างที่หายไปบนหน้ากระดาษ
บาง ครั้งคุณอาจเจอกับช่องว่างเล็กๆ ที่หายไปบนภาพ ตัวหนังสือ หรือเส้นต่างๆ ซึ่งบริเวณที่หายไปจะไม่มีหมึกติดอยู่เลย การตรวจสอบแรกให้ดูว่ากระดาษแผ่นนั้นมีความเรียบเสมอกันหรือไม่ หรือเป็นกระดาษพิเศษที่เครื่องพิมพ์ไม่รู้จักหรือเปล่า? ลองสั่งพิมพ์ใหม่ด้วยกระดาษแผ่นใหม่ ถ้ายังไม่หายละก็ ชุด Transfer Roller อาจเกิดขัดข้องหรือมีปัญหาในระหว่างที่สั่งพิมพ์ ตรงนี้อาจจะร้องเรียกช่างมาดูให้ครับ
สั่งพิมพ์เอกสารแต่ได้หน้ากระดาษเปล่า
หาก คุณสั่งพิมพ์เอกสารแต่ได้หน้ากระดาษเปล่าๆ ออกมา อันดับแรกให้ตรวจสอบดูว่าเครื่องพิมพ์มีการฟีดกระดาษออกมาหลายแผ่นหรือไม่ เพราะหากกระดาษติดกันออกมาเยอะๆ แผ่นที่ติดตัวหนังสืออาจจะไม่ใช่แผ่นกระดาษเปล่าแรกที่หลุดออกมา นอกจากนี้ถ้าคุณซื้อเครื่องใหม่ อย่าลืมดึงแผ่นพลาสติกที่ปิดโทนเนอร์ออกด้วยไม่อย่างนั้นเวลาพิมพ์ระบบจะดูด หมึกออกมาจากดรัมไม่ได้แน่ แต่ถ้าอาการรุนแรงกว่านั้นก็เป็นไปได้ว่าแผงควบคุมการจ่ายหมึกอาจเสียหาย
งานพิมพ์เป็นสีดำทั้งแผ่นอะไรเป็นสาเหตุ
อาการ แบบนี้น้อยนักที่จะเกิดขึ้นยิ่งเป็นเครื่องใหม่ด้วยแล้วเปอร์เซ็นต์ต่ำมาก แต่ถ้ามันเกิดขั้นมาจริงๆ ก็แสดงว่าแผงควบคุมการปล่อยหมึกขัดข้อง จึงไม่สามารถคอนโทรลหมึกได้อย่างถูกต้อง ซึ่งตรงนี้จะไปเกี่ยวข้องกับส่วนควบคุม Laser Scanner ด้วย อย่าลืมดึงตลับโทนเนอร์ออกมาดูความผิดปกติ ซึ่งตัวตลับอาจเสียหายก็เป็นไปได้เช่นกัน
มีเส้นเหมือนบาร์โค้ดทับตัวหนังสือ
เป็น อีกหนึ่งอาการที่เจอกันได้บ่อยๆ สั่งพิมพ์เอกสารแต่ดันมีเส้นเหมือนแถบบาร์โค้ดยาวเป็นแนวจากขอบบนถึงขอบล่าง ติดมาด้วย ตรงนี้ถ้าเครื่องพิมพ์ของคุณใช้มานานแต่ยังไม่เคยเปลี่ยนดรัมหรือโทนเนอร์ เลย แนะนำให้เปลี่ยนได้แล้วเพราะเป็นต้นเหตุหลักของอาการที่ว่านี้เลยเชียว นอกจากนี้ก็อาจจะเป็นเรื่องของเศษผงหมึกที่ไปติดตามส่วนสำคัญเช่น เลนส์สแกนเลเซอร์ ลูกกลิ้งที่ฟีดกระดาษก่อนพิมพ์
ตัวหนังสือเล็กผิดปกติ
เครื่อง พิมพ์ส่วนใหญ่จะมียูทิลิตีสำหรับบริหารจัดการระบบพิมพ์มาให้ และมักจะดูแลเรื่องต่างๆ ของการพิมพ์ให้เกือบหมด ถ้าคุณสั่งพิมพ์แต่ฟอนต์เกิดตัวเล็กผิดปกติทั้งๆ ที่ไม่ได้ปรับขนาดในเวิร์ดเลย ให้ลองตรวจสอบดูที่ Print Preference หรือตัวยูทิลิตีดูว่ามีการปรับโหมดพิเศษอะไรหรือไม่ หรือมีการย่อฟอนต์แบบอัตโนมัติเองหรือไม่? ให้ปรับเป็นค่าที่สามารถพิมพ์ได้ตามปกติ
สั่งพิมพ์แต่ตัวหนังสือขาดหายแสดงไม่ครบ
ปัญหา นี้เกิดขึ้นได้ทั้งที่เป็นตัวหนังสือเพรียวๆ และการสั่งพิมพ์ภาพครับ สาเหตุก็มาจากการตั้งค่าการพิมพ์ไม่ถูกต้องนั่นเอง เช่น มีฟอนต์บางตัว หรือข้องความในบรรทัดบนกับบรรทัดสุดท้ายตกขอบไป แบบนี้หมายความว่ามีการตั้งค่าไม่ตรงนั่นเอง การแก้ปัญหาสามารถทำได้จากตัวโปรแกรมที่คุณใช้งานอยู่ขณะนั้น เช่น Acrobat, Word, Excel และโปรแกรมอื่นๆ เมื่อตั้งค่าการพิมพ์และตั้งค่าหน้ากระดาษแล้วให้ลองพิมพ์ทดสอบดู
เอกสารที่สั่งพิมพ์ชัดเจนแต่แบ็กกราวนด์เป็นสีเทา
โดยปกติแล้ว งานพิมพ์เอกสารที่สมบูรณ์นอกจากตัวหนังสือหรือเส้นตารางๆ ต่างๆ จะชัดเจนแล้ว แบ็ก
กราวนด์ ของกระดาษก็ไม่ควรเป็นสีอื่นใด นอกเสียจากสีขาวของเนื้อกระดาษ แต่ถ้ามันกลายเป็นสีออกเทาๆ เหมือนโหมดเกรย์สเกลแล้วละก็ ตรวจสอบกระดาษก่อนเลยว่าถูกประเภทหรือเปล่า? และลองเข้าไปดูในยูทิลิตีการพิมพ์ว่ามีการเซตแบ็กกราวนด์ให้เป็นสีใดไว้หรือ ไม่? ถ้าทุกอย่างที่บอกไปอยู่ดีเป็นปกติด ให้สันนิษฐานว่าตลับโทนเนอร์หรือดรัมอาจจะชำรุดเสียหายได้
ภาพพิมพ์หรือฟอนต์มีจุดว่างๆ อยู่ข้างใน
งาน พิมพ์ภาพถ่ายด้วยเครื่องพิมพ์เลเซอร์ทั้งสีและขาวดำจะออกมาสวยสุดยอดหรือน่า ประทับใจได้นั้น นอกจากภาพต้นแบบต้องดีแล้ว ระบบการทำงานของเครื่องยังต้องไม่ขัดข้องหรือทำงานเป็นปกติด้วย สำหรับอาการที่เกิดขึ้นบนภาพและฟอนต์ในลักษณะนี้ ส่วนใหญ่มาจากการตั้งค่าการพิมพ์ไม่ตรงกับกระดาษที่ใช้ หรือทางกลับกันนั้นกระดาษที่ใช้ก็ไม่ตรงกับค่าการพิมพ์ที่ได้เลือกไว้นั่น เอง
งานพิมพ์เอียงโย้เย้ไปมาไม่ตรง
ตัว หนังสือเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง หรือภาพที่สั่งพิมพ์โย้เย้ไม่ตรงหรือพอดีกับที่เราตั้งค่าหน้ากระดาษเอาไว้ ละก็ การวินิจฉัยอาการที่เกิดขึ้นให้มุ่งเป้าที่ถาดใส่กระดาษก่อนเลยครับ ถ้าคุณวางปึกกระดาษแน่นหรือไม่ตรงรางป้อนกระดาษ เวลาที่ลูกกลิ้งฟีดกระดาษเข้าไปมันย่อมเข้าไปไม่ตรงด้วย ทำให้เสียเวลาสั่งพิมพ์ตำแหน่งบนกระดาษจึงไม่ถูกต้อง เพราะกระดาษมันไม่ตรงนั่นเอง
ใส่กระดาษค้างไว้ในถาดนานๆ ไม่ดี
เครื่อง พิมพ์ที่ไม่ได้พิมพ์บ่อยๆ อาจมีปัญหาหลายอย่างเวลากลับมาใช้งานอีกครั้ง หนึ่งในนั้นก็คือคุณภาพของกระดาษที่อาจเสียไป เช่น ถ้าคุณใส่กระดาษไว้ในถาดเป็นเวลานานๆ แถมยังใส่เต็มความจุดด้วย การปล่อยเอาไว้โดยไม่มีการพิมพ์เลย กระดาษพวกนี้จะติดกันด้วยความชื้นในห้อง หรือหากเครื่องวางอยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิสูงกระดาษก็จะกรอบเอาง่ายๆ เวลาพิมพ์ออกมาคุณภาพของงานจึงไม่ได้อย่างที่ต้องการ
เส้นขาวในแนวตั้งเกิดขึ้นได้อย่างไร
เคย เจอกับงานพิมพ์ที่มีเส้นขาวเล็กพากเป็นแนวยาวของหน้ากระดาษบ้างไหมครับ อันที่จริงไม่ใช่เป็นหมึกสีขาว แต่เป็นช่องว่างเล็กๆ ที่หมึกพิมพ์ลงไปไม่ได้นั่นเอง และอาการที่ว่านี้มีสาเหตุมากกว่าหนึ่งอย่างด้วย ตั้งแต่โทนเนอร์และดรัมมีคราบสกปรก กระดาษผิดประเภท เช่น กระดาษมันที่ใช้กับเครื่องเลเซอร์ไม่ได้ หากพิมพ์ออกมาก็อาจให้ผลลัพธ์แบบนี้ได้ นอกจากนี้ภายในอาจมีอะไรไปบดบังกระจกสะท้อนแสดงเลเซอร์ในลักษณะแนวยาวได้ ทำให้อาการออกมาในลักษณะนี้
Credit : Computer Today
รวมปัญหาที่เกิดจาก Harddisk
• การทำงานของฮาร์ดไดรฟ์ช้าลง
สาเหตุ : ไฟล์ข้อมูลที่เก็บอยู่บนฮาร์ดดิสก์ อาจอยู่กระจัดกระจาย
การแก้ปัญหา : ตรวจสอบส่วนของข้อมูลที่หายไปโดยการรันโปรแกรม Disk Defragmenter เพื่อที่จะรันโปรแกรม Disk Defragmenter จากเดสก์ทอปของวินโดวส์ ให้ คลิกที่ปุ่ม Startแล้วชี้ไปที่ Programs จากนั้นชี้ไปที่ Accessories และชี้ไปที่ System Tools ท้ายสุดให้คลิกที่ Disk Defragmenter
• เจอไดร์ฟของฮาร์ดดิสก์แต่เข้าไม่ได้
สาเหตุที่ 1 เป็นพาร์ทิชั่นชนิดที่ระบบปฏิบัติการไม่รู้จัก
การแก้ปัญหา : เราต้อง Copy ข้อมูลที่เราต้องการมาไว้ที่อีกพาร์ทิชั่นที่ใช้ได้ หรือลบพาร์ทิชั่นทิ้งแล้วสร้างใหม่
สาเหตุที่ 2 ยังไม่ได้ฟอร์แมต
การแก้ปัญหา : ถ้าคุณใช้โปรแกรมแบ่งพาร์ทิชั่นบางโปรแกรม เช่น Fdisk หลังจากแบ่งพาริทิชั่นเสร็จแล้วจะยังไม่สามารถใช้งานได้ในทันที แต่จะต้องใช้คำสั่งฟอร์แมตอีกครั้งหนึ่ง
สาเหตุที่ 3 พาริทิชั่นเสีย
การแก้ปัญหา : บางครั้งเครื่องเราอาจติดไวรัส เครื่องแฮงก์หรือโปรแกรมต่าง ๆ ทำงานผิดพลาด ทำให้ข้อมูลในส่วนที่สำคัญของพาริทิชั่นถูกแก้ไขและข้อมูลเสียไปด้วย การกู้ข้อมูลอาจใช้โปรแกรมDisk Utility ต่าง ๆ ที่มีโปรแกรมช่วยกู้ข้อมูล และทางที่ดีเราควรลงโปรแกรมที่จะช่วยแบ็คอัพข้อมูลเช่น โปรแกรม Norton Ghost ซึ่งโปรแกรมจะรวบรวมข้อมูลที่สำคัญต่าง ๆ ในฮาร์ดดิสก์แล้วสำรองไว้ เวลาที่พาร์ทิชั่นมีปัญหาสามารถใช้แผ่น กู้ฉุกเฉินของโปรแกรมนี้กู้ข้อมูลกลับมาได้ แต่ถ้ากู้ไม่ได้ คงต้องยอมสูญเสียข้อมูลไป แบ่งพาร์ทิชั่นแล้วลงโปรแกรมกันใหม่
• หลอดไฟ ไดร์ฟฮาร์ดดิสก์สว่างตลอดเวลา
สาเหตุที่ 1 เกิด Bad Sector
การแก้ปัญหา : เมื่อ ฮาร์ดดิสก์กำลังพยายามอ่านพื้นที่ที่ไม่สามารถใช้เก็บข้อมูลได้ (Bad Sector) จะใช้เวลาในการอ่านนานในขณะที่เครื่องกำลังการตอบสนองจากฮาร์ดดิสก์นั้น ไฟฮาร์ดดิสก์ก็จะสว่างตลอด ซึ่งเราสามารถตรวจสอบว่ามี Bad Sector หรือเปล่าโดยใช้โปรแกรมประเภท Disk Utility ซ่อม เช่น Norton Utility เป็นต้น
สาเหตุที่ 2 ต่อหลอด LED สลับขั้ว
การแก้ปัญหา : บาง เมนบอร์ดถ้าหากเสียบสายต่อไฟ LED สลับขั้วแล้ว จะทำให้ LED สว่างขณะที่ฮาร์ดดิสก์ไม่ได้ทำงาน แต่ดับขณะที่ฮาร์ดดิสก์ทำงานทำให้ในขณะที่ฮาร์ดดิสก์ไม่ทำงานไฟ LED จะติดค้างอยู่ สามารถแก้ได้โดยการเปิดฝาเครื่องแล้วเสียบสาย LED ฮาร์ดดิสก์เสียใหม่ให้ถูกทาง
• เครื่องคอมพ์มองเห็นฮาร์ดดิสก์บ้าง บางครั้งก็มองไม่เห็น
สาเหตุ สายไฟที่เข้าไปเลี้ยงฮาร์ดดิสก์หลวม
การแก้ปัญหา : สาย ไฟเลี้ยงฮาร์ดดิสก์อาจหลวมบางขั้วต่อ ถึงแม้วาเราจะเสียบแน่นก็ตาม อาจลองแก้โดยการนำคีมบีบหน้าสัมผัสของสายจ่ายไฟเลี้ยงให้แคบเข้า เพื่อให้ทุกขั้วสัมผัสดี
• ฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ไม่ได้
สาเหตุ ยังไม่ได้แบ่งพาร์ทิชั่น
การแก้ปัญหา : ถ้าหากว่าคุณกำลังจะฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ แต่กลับหาไดร์ฟไม่เจอ เช่น เปลี่ยนไปที่ไดร์ฟ C แล้วขึ้นคำว่า Invalid drive specified สันนิษฐานได้ว่า ฮาร์ดดิสก์ของคุณนั้นยังไม่ได้แบ่งพาร์ทิชั่นให้ลองใช้โปรแกรมแบ่งพาร์ติ ชั่น ตรวจสอบดูว่ามีการแบ่งพาร์ทิชั่นแล้วหรือยังภายในฮาร์ดดิสก์
Credit Liberta
รวมปัญหาที่เกิดจาก RAM
มีเสียงร้องหลังจากเปิดเครื่องและไม่มีภาพ มีสาเหตุดังนี้
1. เสียบ RAM ไม่แน่น
วิธีแก้ไข : ให้ลองเปิดฝาเครื่องแล้วขยับ RAM ให้แน่น
2. เกิดจากหน้าสัมผัสของ RAM ไม่สะอาด
วิธีแก้ไข : เปิดฝาเครื่องออกมาแล้วให้ลองขยับ RAM ให้แน่น ถ้ายังไม่หายให้ลองถอด RAM ออกมาทำความสะอาดหน้าสัมผัส โดยใช้ยางลบดินสอหรือน้ำยา
3. เกิดจากการเสียบ RAM ผิดแถว
วิธีแก้ไข : เมนบอร์ดบางรุ่นต้องเสียบ RAM ไล่จากแถวที่ 1 ขึ้นไป ให้ลองนำ RAM มาเสียบที่ Slot ที่ 1 และไล่ลงไปในกรณีที่มี RAM หลายแถว
4. RAM ที่ใส่ไปไม่ตรงกับชนิดที่เมนบอร์ดรับได้
วิธีแก้ไข : ตรวจสอบกับคู่มือเมนบอร์ดว่าเป็นชนิดที่ถูกต้องและขนาดที่ไม่เกินที่เมน บอร์ดกำหนดในแต่ละแถว ถ้าไม่ถูกให้นำ RAM ชนิดที่ถูกต้องมาใส่
5. เกิดจากความผิดผลาดของกระบวนการเช็คตอนเปิดเครื่อง ( POST) ของไบออส
วิธีแก้ไข: ในบางครั้งจะจดจำการติดตั้งฮาร์ดแวร์ในตำแหน่งต่างไว้และทำการตรวจเช็คทุก ครั้งที่เปิดเครื่องดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง หรือสลับตำแหน่งของสล็อตที่เสียบอุปกรณ์ต่างๆ เครื่องอาจจะเช็คว่าเกิดความผิดผลาดได้ โดยที่จริง ๆ แล้วไม่ได้มีอุปกรณ์ใด ๆเสียเลยแต่เพราะเครื่องได้จดจำข้อมูลตำแหน่งของสล็อต ที่เสียบ ฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ไว้ แต่ยังไม่ได้ทำการอัพเดทหรือ รีเฟรช (Refresh ) ทำให้เมื่อเปิดเครื่องแล้วถึงขั้นตอนการตรวจสอบ เครื่องจะฟ้องว่าฮาร์ดแวร์
ผิด ผลาด วิธีแก้คือ ให้ลองสบับแถวของ RAM แล้วลองเปิดเครื่องใหม่ เพื่อให้เครื่องจดจำตำแหน่ง หรือ Reset ไบออส โดยการถอด ถ่านของไบออสบนเมนบอร์ดออกสักครู่หนึง แล้วกลับเข้าไปใหม่ จากนั้นลองเปิดเครื่องใหม่อีกครั้ง
6. RAM เสีย
วิธีแก้ไข : ให้ลองนำ RAM ตัวอื่นที่ใช้ได้มาเสียบแทนในช่องเดียวกัน ถ้าหากใช้ได้แสดงว่า RAM เสีย ถ้า RAM เสียก็ต้องซื้อมา เปลี่ยนสถานเดียว
เปิดเครื่องแล้ว แต่ Test Memory (RAM) ไม่ผ่านมีสาเหตุดังนี้
1. สล็อตเสียบ RAM เสียหรือเสียมคุณภาพ
วิธีแก้ไข : เป็นไปได้ที่เมื่อใช้ไปแล้ว สล็อตเสียบ RAM เสื่อมคุณภาพ ให้ลองย้าย RAM ไปใส่ในสล็อตอื่นแล้วลองบู๊ตเครื่องใหม่
2. RAM เสียหรือเสียมคุณภาพ
วิธีแก้ไข : ให้ลองนำ RAM ตัวอื่นที่ใช้ได้มาเสียบแทนในช่องเดียวกันถ้าผ่านแสดงว่า RAM เสีย ก็ต้องซื้อมาเปลี่ยนใหม่
ใช้แล้วเครื่องแฮงก์ง่ายมีสาเหตุดังนี้
1. อาจเกิดจากการตั้งค่าความถี่ที่ใช้กับ RAM ไม่ถูกต้อง
วิธีแก้ไข : ดูที่สเปค (Spec) ของ RAM สามารถทำงานที่ความถี่เท่าไร และให้ตั้งให้ถูกต้อง โดยเซ็ทที่ BIOS หรือเมนบอร์ด บางรุ่นต้องเซ็ทที่ Jumper บนเมนบอร์ด โดยสามารถดูรายละเอียดจากคู่มือของเมนบอร์ดนั้นๆ ได้
2. อาจเกิดจากการตั้งค่าการหน่วงเวลา (Wait state) ไม่ถูกต้อง
วิธีแก้ไข : กลับไปตั้งค่าให้ถูกต้องเหมือนเดิม หรือตั้งค่าเป็นแบบ by SPD จะสะดวกที่สุด
3. อาจเกิดจากการเลือกคุณสมบัติพิเศษ เช่น Fast page , EDO ไม่ถูกต้อง
วิธีแก้ไข : ควรศกษาคุณสมบัติพิเศษต่าง ๆ ให้เข้าใจอย่างละเอียดก่อนที่จะเลือกใช้คุณสมบัตินั้น ๆ ถ้าไม่แน่ใจให้แก้กลับมาที่ Load Detault Setup หรือ Disable เพราะถ้าเลือกใช้คุณสมบัติพิเศษ โดยที่ RAM ตัวนั้นไม่รองรับ ก็จะทำให้เกิดความผิดพลาดในการทำงานได้
4. อาจเกิดจาก Clip RAM ร้อนเกินไป
วิธีแก้ไข : ในกรณีทีบางครั้ง RAM ทำงานหนักและเกิดอาการร้อนเกินไปจะทำให้เกิดการทำงานผิดพลาดได้ ดังนั้นถ้าต้องการเสถียรภาพ ในการทำงานมากขึ้น เราควรปรับปรุงระบบระบายความร้อนภายในเครื่องคอมพ์ให้ดีขึ้น เช่น เพิ่มพัดลมระบายความร้อนภายในเครื่อง วางคอมพ์ไว้ในที่ที่มี อากาศถ่ายเทได้สะดวกหรือห้องแอร์ก็จะยิ่งดี
5. อาจเกิดจาก RAM เสื่อม
วิธีแก้ไข : RAM บางตัวที่ใช้งานไปนาน ๆ Clip บางตัวบน RAM อาจเสื่อมได้โดยที่เครื่องยังสามารถทำงานได้ตามปกติ แต่เมื่อเครื่อง ได้ใช้งานมาถึงตำแหน่งที่เสื่อมบนแรมตัวนั้น จะทำให้เกิดการทำงานผิดพลาดได้ วิธีแก้คือ ลองถอด RAM ตัวที่คิดว่าเสื่อมออก และนำ RAM ตัวอื่นที่ดีมาใส่แทน และลองใช้งานดู ถ้าทำงานได้ตามปกติแสดงว่า RAM ตัวนั้นเสีย ให้ซื้อตัวใหม่มาเปลี่ยน หรือถ้าอยู่ในระยะประกันให้ลองเปลี่ยนตัวใหม่ แต่อาการแบบนี้ขอบอกว่าพิสูจน์ยากนิดนึง บางครั้งเราต้องรอจังหวะ
ขนาดของ RAM เมื่อใช้งานน้อยกว่าขนาดที่แท้จริงมีสาเหตุดังนี้
1. เสียบ RAM ที่มีขนาดเกินกว่าที่ช่องเสียบ RAM นั้นรับได้
วิธีแก้ไข : เมนบอร์ดบางตัวจะกำหนดขนาดของ RAM สูงสุดต่อแถวที่เสียบได้ในแต่ละช่องสล็อต ดังนั้นควรอ่านคู่มือของเมนบอร์ดดูก่อนว่าสล็อตใดเสียบ RAM ที่มีขนาดสูงสุดได้เท่าไร เช่น เมนบอร์ดบางรุ่น ช่องเสียบ RAM แถวที่ 1ใส่ RAM ได้สูงสุดไม่เกินแถวละ128 MB ถ้าเรานำ RAM ขนาด แถวละ 256 MB มาใส่เครื่องจะไม่สามารถรับได้หรือมองเห็นแค่เพียง 128 MB เท่านั้น
2. ขนาดของ RAM รวมทั้งหมดเกินกว่าที่เมนบอร์ดจะรับได้
วิธีแก้ไข : เมนบอร์ดทุกอันจะมีขนาดรวมของ RAM สูงสุดที่เมนบอร์ดรับได้ไม่ใช่ว่าจะสามารถซื้อ RAM มาใส่เท่าไรก็ได้ ควรอ่านคู่มือ ของเมนบอร์ดรุ่นนั้นด้วย
3. RAM บางส่วนถูกนำไปใช้ในด้านอื่น
วิธีแก้ไข : เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นเมนบอร์ดบางรุ่น ที่มีอุปกรณ์บางประเภท Onboard ซึ่งจะใช้หน่วยความจำร่วมกับ RAM ทำให้เมื่อเปิด ใช้งานเนื้อที่ของ RAM บางส่วนจะถูกจองไว้สำหรับใช้งานของอุปกรณ์ตัวนั้นโดยเฉพาะ จึงทำให้เวลาระบบปฏิบัติการแสดงผลขนาดของ RAM จะเหลือไม่เท่ากับ ขนาดที่แท้จริงของ RAM เช่น เมนบอร์ดบางรุ่นที่มี VGA Card Onboard และแจ้งว่ามี RAM ของ VGA Card ขนาด 16 MB แต่เมื่อใช้งานจะใช้เนื้อที่ของ RAM ที่เสียบลงไปบนเมนบอร์ด ดังนั้น ถ้าเราเสียบ RAM ขนาด 128 MB ลงไปบนเมนาบอร์ดจะเหลือ RAM ที่ใช้งานกับระบบจริงเพียง 128 MB คือ 112 MB
4. อาจเกิดจาก RAM เสื่อม
วิธีแก้ไข : เราสามารถดูตามอาการเสียของแรมที่ได้กล่าวมา ข้างต้น
RAM ที่มีความเร็วสูงแต่ทำงานที่ความเร็วต่ำ
1. เมนบอร์ดไม่สามารถรองรับ RAM ที่มีความเร็วสูงกว่าที่กำหนดได้
วิธีแก้ไข : ไม่สามารถแก้ได้ ถ้าต้องการให้ RAM ทำงานที่ความเร็วสูง ต้องซื้อเมนบอร์ดรุ่นที่รองรับได้ เช่น RAM ที่มีความเร็ว 133 MHz เมื่อนำมา ใส่เมนบอร์ดที่รองรับ RAM ที่มีความเร็วสูงสุดที่ 100 MHz RAM ตัวนั้นจะทำงานได้ที่ความเร็วแค่ 100 MHz
2. ไม่ได้ตั้งค่าที่ BIOS ให้ถูกต้อง
วิธีแก้ไข : ที่ BIOS จะมีเมนูสำหรับตั้งค่าความเร็วของ RAM ที่เราต้องการให้เราไปปรับค่าให้ถูกต้องหรือให้เลือกเป็น Auto
3. ไม่ได้เซ็ทค่าจั๊มเปอร์บนเมนบอร์ด
วิธีแก้ไข : เมนบอร์ดบางรุ่นจะมีการเซ็ทความถี่ของ RAM ที่จั๊มเปอร์บนเมนบอร์ดด้วย ให้ศึกษาด้วย ให้ศึกษาและเซ็ทตามคู่มือเมนบอร์ด
Credit Liberta
ข้อมูลจาก ruk-com.in.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น